การจัดงานในประเทศไทย ของ พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

รายละเอียด

การจัดงานพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ แบ่งออกเป็นสามส่วนคือ

1. พิธีหลวง พิธีที่มีความเกี่ยวข้องกับสำนักพระราชวัง หรือเป็นพิธีพุทธบูชาที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในกิจกรรมพุทธบูชาในช่วงเวลาการฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ ในวาระต่าง ๆ เช่น พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวงจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐานยังมณฑลพิธีงานพุทธชยันตี 2600 ปี ณ ท้องสนามหลวง การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[10] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระกุศลเนื่องในวันวิสาขบูชา ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเททองหล่อพระพุทธรูปสมโภชพุทธชยันตี[11] การเสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกฉัตรประดิษฐานเหนือพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง[12] เป็นต้น

2. รัฐพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ภาครัฐอำนวยการ รวมถึงพิธีต่าง ๆ ที่มหาเถรสมาคมดำริหรือมีมติให้เป็นกิจกรรมโดยคณะสงฆ์ไทย โดยมีการสนับสนุนและใช้งบประมาณของภาครัฐ เช่น การจัดตั้งคณะอำนวยการจัดงาน ฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ การจัดกิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 1 ท้องถิ่น : 1 พุทธบูชา เป็นต้น[13][14][15]

3. ราษฎรพิธี ได้แก่ พิธีต่าง ๆ ที่ วัด พระสงฆ์ องค์กรภาคเอกชน รวมทั้งประชาชนร่วมกันจัดขึ้นด้วยความศรัทธา ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น กิจกรรมการเวียนเทียน การจัดทำบุญและถวายมหาสังฆทาน[16] กิจกรรมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ[17][18] กิจกรรมงานวัดลอยฟ้า กิจกรรมฉายภาพยนตร์สื่อธรรมะทางพระพุทธศาสนา [19] กิจกรรมตักบาตรพระ 1,000,000 รูป[20] เป็นต้น

การเตรียมงาน

ริ้วกระบวนอิสริยยศอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุหลวง จากพระบรมมหาราชวัง ไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เนื่องในโอกาสพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้

ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 28/2553 เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2553 มหาเถรสมาคมได้เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 ครบรอบ 26 ศตวรรษ แห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเบื้องต้น และมหาเถรสมาคมได้มีมติที่ 628/2553[21] เห็นชอบให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชา ปี 2555 เป็นพิเศษ เพราะวันวิสาขบูชา ปี 2555 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นวันครบรอบ 2,600 ปี หรือครบศตวรรษที่ 26 แห่งการตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประสานขอรับฟังความคิดเห็นจากกรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสงฆ์ เจ้าคณะภาค นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษให้ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ

ในปี พ.ศ. 2555 สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการประชุมหารือร่วมกับ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้แทนกรมการศาสนา ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ผู้แทนมูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ และองค์กรภาคเอกชนอื่น ๆ เพื่อสรุปหาแนวทางการจัดงาน และเสนอมหาเถรสมาคมเพื่อเห็นชอบ และมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นชอบให้ใช้แนวทางการดำเนินงานตามที่ที่ประชุมของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติดังกล่าวเสนอมา โดยให้มีลักษณะเช่นเดียวกับการจัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่รัฐบาลเป็นเจ้าภาพในการจัด[22] โดยที่ประชุมมีมติร่วมกันดังนี้

  1. ใช้ชื่อว่า “งานฉลองสัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้า”
  2. รัฐบาลและคณะสงฆ์ไทยโดยมหาเถรสมาคม เป็นผู้รับผิดชอบการจัดงานหลัก
  3. ใช้งบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาล
  4. การจัดงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ ด้านการปฏิบัติบูชา ด้านวิชาการ และด้านกิจกรรมเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม
  5. ระยะเวลาจัดงานในช่วงสัปดาห์เทศกาลวิสาขบูชา ประจำปี พ.ศ. 2555 ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 - วันที่ 4 มิถุนายน 2555 รวม 7 วัน
  6. ให้มีธงสัญลักษณ์ “งานฉลอง สัมพุทธชยันตี 2,600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า” เพื่อให้ทุกวัดทั้งในและต่างประเทศใช้ประดับบริเวณวัดและสถานที่เหมาะสม

คณะกรรมการจัดงานภาครัฐ

ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า[23][24] กรรมการประกอบด้วย

มหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ ปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน องค์กร มูลนิธิ ที่เกี่ยวข้อง เป็นกรรมการ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติและอธิบดีกรมการศาสนา เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ[23][24]

พิธีหลวง

หมายกำหนดการพิธีและพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พุทธศักราช 2555 ในช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 ดังต่อไปนี้

วันที่เวลาพระราชพิธีสถานที่
วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม07.00 น. - 10.00 น.พิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากพระบรมมหาราชวังไปประดิษฐาน ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง*วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันอาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน17.00 น.พระราชพิธีทรงตั้งเปรียญวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน16.00 น. - 17.00 น.พิธีบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา*[10]ลานพระศรีศากยทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน17.30 น.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปงานวันวิสาขบูชา[25]มณฑลพิธีท้องสนามหลวง
วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน18.00 น.พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง

รัฐพิธี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ราษฏรพิธี

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

แหล่งที่มา

WikiPedia: พุทธชยันตี 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ http://www.alittlebuddha.com/News%202012/March%202... http://www.asiantribune.com/news/2011/05/31/2600th... http://www.facebook.com/BuddhaJayanti http://sites.google.com/site/sbbtv999net/31 http://www.icundv.com http://board.palungjit.com/showthread.php?t=340632... http://sambuddhatvajayanthi.com/ http://www.thaitv3.com/%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88... http://www.ubondopa.com/showdetail.asp?id=4504 http://www.slbc.lk/index.php/component/content/art...